วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

TWI JI (ภาษาไทย)





หลักสูตร วิธีการสอนงาน (TWI JI)

 หลักการและเหตุผล

          เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สถานประกอบการเป็นสถานที่ “ผลิต”

สินค้าต่างๆเพื่อลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายนอกหรือลูกค้าภายใน เพราะลูกค้า ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มี “คุณภาพ” การที่สถานประกอบการจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในองค์การเพื่อสนองต่อความต้องการของลูกค้า สิ่งหนึ่งที่แข่งขันได้ก็คือ “ต้นทุนการผลิต” เพราเมื่อเราผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าที่ดี มีคุณภาพตรงตามความต้องการภายใต้ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ ย่อมจะทำให้องค์กรอยู่ได้
          ปัญหาต่างๆ มีเกิดขึ้นเป็นประจำในองค์กร เช่น
                   อุบัติเหตุ การทำงานซ้ำ เครื่องจักรเสียบ่อย ของเสียหรือด้อยมาตรฐานมาก พนักงานหยุดงานสูง การเรียนรู้ของพนักงานช้า
          ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เหล่านี้ คือการสอนงานของผู้ที่มีหน้าที่สอนงาน หรือหัวหน้างาน ไม่มีแบบแผนในการสอนงานที่ดี
          TWI JI เป็นแนวทางวิธีการสอนงานที่คิดค้นขึ้นในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1950 แล้วมาพัฒนาในญี่ปุ่นจนเป็นที่ยอมรับกันไปทั่วโลก ว่าเป็นวิธีการสอนงานที่ดี มีประสิทธิภาพ จึงเหมาะกับการแนะนำให้หัวหน้างานได้รับรู้แนวทางเพื่อการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
วัตถุประสงค์

          เพื่อให้หัวหน้างานหรือผู้สอนงาน ได้รับทราบแนวทางการสอนงานที่ถูกต้องและนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆ ลงได้ และยังสามารถนำไปประยุกต์เพื่อการจัดทำใบพรรณนางานได้(Work instruction)
วิธีการสอน

          บรรยาย
          CASE STUDY
          ฝึกปฏิบัติ


เนื้อหาวิชา

          บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างานและผู้สอนงาน
          การสอนงานด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง
          การสอนงานตามหลักการ TWI JI
          การเตรียมตัวก่อนการสอนงาน
          การสอนงานด้วยเทคนิคพิเศษ

กลุ่มเป้าหมาย
         
          หัวหน้างาน หรือ ผู้ที่มีหน้าที่สอนงาน

จำนวนวันต่อรุ่น

          หลักสูตรบังคับ 2 วัน (9.00 น. -16.00 น.)

วิทยากร

          อ.เสกพรสวรรค์ บุญเพ็ชร ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการถ่ายทอดจาก Master Trainer ชาวญี่ปุ่น ในโครงการ AHRDP โดยสถาบันยานยนต์ กระทรวงอุตสาหกรรม

ผลที่สถานประกอบการจะได้รับ

1.       หัวหน้างาน หรือผู้สอนงานที่สามารถสอนงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีประสิทธิภาพ
2.       ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะหมดไป หรือเหลือเพียงเล็กน้อย
3.       สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น