วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

5 ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต



5 ส. เพื่อการเพิ่มผลผลิต
การดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อความสำเร็จย่อมมีก้าวแรกเสมอ เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน มั่นคง ก้าวแรกมีส่วนสำคัญอย่างมาก ในการสร้างพื้นฐาน นั้นๆ 5 ส. เป็นก้าวแรกที่มีความจำเป็นต่อทุกกิจกรรม เพราะเป็นพื้นฐานในการสร้างแนวทางการทำงาน และการปรับตัว ในการทำกิจกรรม ให้สำเร็จ จนมีคำกล่าวไว้ว่า “การทำกิจกรรมทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่ 5 ส.ก่อน หาก 5ส. สำเร็จกิจกรรมอื่นๆ ก็สามารถสำเร็จได้โดยง่าย”
                ฉะนั้นการดำเนินการในกิจกรรม 5 ส.จึงมีความจำเป็น และการให้ความรู้ในแนวทางการดำเนินการด้าน 5 ส. ก็จำเป็นอย่างมากเพื่อให้ทุกคน มีความรู้และเข้าใจไปในแนวทางเดียวกัน
วัตถุประสงค์
          - เพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้เรื่อง 5 ส. อย่างชัดเจน
                - เพื่อให้ผู้อบรมดำเนินการกิจกรรม 5 ส. ในหน่วยงานตนเองได้
                - เพื่อให้ผู้อบรมได้เป็นตัวแทนการแนะนำเพื่อร่วมงานได้
เป้าหมาย
                พนักงาน, หัวหน้างาน, ตัวแทนหน่วยงาน
ระยะเวลา
                1 วัน ( 6 ชั่วโมง) 9.00 – 16.00
หลักสูตร
        - การเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน
                - ความคาดหวังของการทำ 5 ส.
                - ความหมายและการทำ 5 ส.
                - ปัญหาและอุปสรรคของ 5ส.
                - การเตรียมการณ์ 5 ส.
วิธีการอบรม
          บรรยาย, Case study จากผู้ที่เคยผ่านงานทางด้านการผลิต และการดำเนินการจริงมากว่า 20 ปี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        -  ผู้อบรมมีความรู้เรื่อง 5 ส. อย่างชัดเจน
                -  ผู้อบรมสามารถดำเนินการกิจกรรม 5 ส. ในหน่วยงานตนเองได้
                -  ผู้อบรมสามารถเป็นตัวแทนการแนะนำเพื่อร่วมงานได้

POKA YOKE

POKA YOKE
สถานประกอบการหรือสถานที่ ที่ผลิต ผลิตภัณฑ์(Product) นานาชนิดขึ้นมานั้นในส่วนของการผลิตสินค้าไม่ได้มาตรฐาน หรือเกิดของเสียขึ้นมาด้วย บางครั้งสามารถตรวจพบได้ในระหว่างกระบวนการ(In process) บางครั้งตรวจพบได้ท้ายกระบวนการ(Finish goods) ในบางโอกาสของเสียเหล่านั้นสามารถเล็ดลอดผ่านกระบวนการควบคุม คุณภาพทางสถิติ (Statistical Quality Control) จากการสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบไปสู่ลูกค้าได้ซึ่งมีผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า(Customer Satisfaction) และต้องทำการแก้ไขผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานเหล่านั้น ( Rework ) ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง เทคนิคหนึ่งทางด้านปรับปรุงคุณภาพ และมุ่งมั่นสู่ของเสียเป็นศูนย์ (Zero- Defect) นั้น คือการใช้ระบบPOKA-YOKE ระบบPOKA-YOKE คือ ระบบป้องกันความผิดพลาดซึ่งมีรากฐานมาจากภาษาญี่ปุ่น
                    POKA คือ ความผิดพลาดจากการไม่เอาใจใส่
                    YOKE คือ ป้องกัน/ไม่ให้เกิด/หลีกเลี่ยง
หรือที่เรียกกันเป็นที่แพร่หลายว่า ระบบป้องกันความผิดพลาดจากการพลั้งเผลอ หรือใช้คำว่า Mistake Proof ซึ่งระบบ POKA-YOKEนี้ ควบคุมให้งานในกระบวนการมีความถูกต้องเท่านั้นที่จะสามารถผ่านกระบวนการและไปสู่กระบวนการต่อไป
  วัตถุประสงค์
                1. เพื่อให้ทราบถึงที่มาและความหมายของระบบป้องกันความผิดพลาด (POKA-YOKE)
                2. เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
                3. เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติในการป้องกันความสูญเสียที่เกิดขึ้น
                4. เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติในการป้องกันความผิดพลาดด้านการผลิต
กลุ่มเป้าหมาย
                หัวหน้างาน หรือพนักงานที่สนใจ
ระยะเวลา
                1 วัน (9.00 – 16.00 น.)
เนื้อหาวิชา
                ความหมายและที่มาของ POKA YOKE
                แนวคิด ความสูญเสียต้องเป็นศูนย์
                เทคนิคการวิเคราะห์ ปัญหา
                ทำ POKA YOKE อย่างไร?
                ทำ POKE YOKE ป้องกันไม่ได้จะทำอย่างไร?

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

QCC




ลักสูตร QCC
หลักการและเหตุผล
                การพัฒนาและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการมีความคิดริเริ่มที่ดี แต่ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้จบลงได้ เพราะไม่รู้ว่าเหตุที่มาของปัญหาคืออะไร กิจกรรม QCC เป็นแนวทางที่จะช่วยในการแก้ไขปัญหาที่รากเหง้า อันจะทำให้ปัญหาเดิมๆ ที่เกิดอยู่เป็นประจำหายไปหรือเหลือเพียงเล็กน้อย เช่น ของเสียในกระบวนการ พื้นที่การจัดเก็บ Brake down เครื่องจักรเสียหาย อุบัติเหตุ เป็นเหตุที่ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปได้เป็นอย่างมากซึ่งจะส่งผลให้มีกำไรเพิ่มขึ้น
                นอกจากนั้นยังเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดความเรียนรู้และพัฒนาตนเองของทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม มีแนวความคิดที่เป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล ในการทำงานมากขึ้น และเป็นการพัฒนาภาวะผู้นำไปด้วย ซึ่งเป็นผลได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากผลกำไรที่เพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์
1.       เพื่อให้พนักงานเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2.       เพื่อลดสิ่งที่ผิดปกติในการทำงาน
3.       เพื่อพัฒนาพนักงานให้เกิดการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาและปรับปรุงงาน
วิธีการสอน
                บรรยาย
                Case study
          ทดลองปฏิบัติ
เนื้อหาวิชา
                ที่มาของ QCC
ความหมายของQCC
Basic 7 QC TOOL
วิธีการดำเนินกิจกรรม QCC
วิธีการนำเสนอ
กลุ่มเป้าหมาย
                กลุ่ม QCC
จำนวนผู้เข้าเรียน
                ไม่เกิน 50 คน ต่อรุ่น
ระเวลาการอบรม
                6 ชั่วโมง (9.00 - 16.00 น.)
วิทยากร
                นายเสกพรสวรรค์  บุญเพ็ชร  
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.       พนักงานเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2.       สิ่งที่ผิดปกติในการทำงานลดลงหรือหมดไป
3.       พนักงานให้เกิดการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาและปรับปรุงงาน

Why why analysis





หลักสูตร การวิเคราะห์ เพื่อการแก้ปัญหา
          สถานประกอบการทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการประกอบการประเภทใด มักมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ บางปัญหาก็มีขึ้นแล้วหายไปได้โดยง่าย บางปัญหาต้องใช้พลังในการแก้ไข และปัญหาส่วนหนึ่งเกิดขึ้นแล้วเมื่อทำการแก้ไขปรับปรุงก็หายไปชั่วระยะหนึ่งแล้วก็เกิดขึ้นใหม่ไม่จบสิ้น ที่เรียกว่าปัญหาซ้ำชาก ไม่ใช่เพราะผู้แก้ไขปัญหาไม่สนใจหรือไม่ตั้งใจ หากแต่การแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้นไม่ถูกจุด หรือไม่ตรงประเด็นที่ชัดเจน หรืออาจเป็นการแก้ไขที่ปลายของปัญหา จึงทำให้รากเหง้าของปัญหานั้นยังคงอยู่ เมื่อมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากระทบก็ทำให้เกิดเหตุการณ์ หรือความเสียหาย หรือปัญหากลับมาเกิดขึ้นอีกได้
          การวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีแนวทางในการวิเคราะห์ ที่ถูกต้อง ชัดเจน สามารถรับรู้ได้ถึงรากเหง้าของปัญหา เมื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงที่รากเหง้าของปัญหาไปแล้วก็จะไม่ทำให้ปัญหานั้นกลับมาอีก
          ผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้า ควรรู้ถึงแนวทางในการวิเคราะห์นี้ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา และการปรับปรุงเพื่อให้ผลผลิตราบรื่น มีคุณภาพที่ดีตรงตามความต้องการของลูกค้า ส่งมอบได้ตรงตามเวลา และสามารถควบคุมต้นทุนในการผลิตได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย อีกทั้งยังทำให้พนักงานและหัวหน้ามีทักษะในการพัฒนาแนวคิดเพื่อการปรับปรุงงานได้ดีขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง
2. เพื่อให้ทราบถึงที่มาของปัญหาที่แท้จริงเพื่อนำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้อง
3. เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการป้องกันปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้

วิธีการสอน
          บรรยาย
          Case study
          ทดลองปฏิบัติ

เนื้อหาวิชา
          1. ที่มาของการวิเคราะห์
          2. การสะสางปัญหา
          3. การทำความเข้าใจกับปัญหา
          4. เทคนิคการวิเคราะห์
          5. ข้อควรระวังในการวิเคราะห์
กลุ่มเป้าหมาย
          พนักงานระดับปฏิบัติการ, หัวหน้างาน
ระเวลาการอบรม
          6 ชั่วโมง (9.00 - 16.00 น.)
วิทยากร
          นายเสกพรสวรรค์ บุญเพ็ชร  
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้รับการอบรมทราบถึงแนวทางการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง
2. ผู้รับการอบรมทราบถึงที่มาของปัญหาที่แท้จริงเพื่อนำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้อง
3. ผู้รับการอบรมทราบถึงแนวทางการป้องกันปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้